วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 6 เรื่องข้อมูลและการจัดการข้อมูล

บทที่ 6 เรื่องข้อมูลและการจัดการข้อมูล
  1.  คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี มีดังต่อไปนี้
           - ความถูกต้อง
               จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น
           - มีความเป็นปัจจุบัน
               ข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
           - ตรงตามความต้องการ
                ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับความต้องการก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ใช้ไม่ได้
           - ความสมบูรณ์
                ข้อมูลที่ดีต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์
           - สามารถตรวจสอบได้
                ข้อมูลที่ดีควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงได้
   2. ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ. คือ การนำเอาข้อมูลหลายๆเรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูล
         เดียวกัน      
   3. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ. ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก เพื่อนำไปประมวล
         ผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ในภายหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได
   4.  ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ. ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อตัว หรือนามสกุล
         อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้ การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ สร้างคีย์ฟีลด์เพื่อใช้อ้างอิง
         หรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิดซึ่งทำให้สะดวก
         และมีประสิทธิภาพมากกว่า คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ด
         ที่ต้องการได้ ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา
         ฟีลด์รหัสสินค้า เป็นต้น
  5.  การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด คือแบบใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ.  โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆการอ่าน
          หรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ โปรแกรม
          จะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน จึงจะเรียก    
          ค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา              
  6.  โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ. การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที
         ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก
  7  .เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
  ตอบ. เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกันให้สามารถทำงาน
         ร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลาง เช่นแต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้า
         ของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่อยู่ของ
         ลูกค้า เกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็น
         ค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ หากจะติดต่อกับ
         ลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้
         ลงไปได้
8. ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data redundancy) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ. คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่ ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำกันได้
         กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น ทำให้
         เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลง
         ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องตามไปแก้ไขทุกๆแฟ้มที่จัดเก็บแยกกันอีกเพื่อ
         ให้ตรงกัน จึงทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก
9.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ. เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดีโดยที่ไม่จำ
         เป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษา
         ฐานข้อมูลได้ รวมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆ
         สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง

อ้างอิงจากเว็บhttp://seeddy.150m.com/Homework%206.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น