วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่1-13

สรุปท้ายบทที่1
            คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์อย่างมาก มีคุณสมบัติเด่นคือ ความเป็นอัตโนมัติทำงานด้วยคามเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำน่าเชื่อถือ จัดเก็บข้อมูล ทำงานซ้ำๆกันและใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อติดต่อสื่อสารกันได้ คอมพิวเตอร์ในยุดแรกเนนในการทำสงครามเป็นหลัก ต่อมามีการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปรับขนาดให้เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเราสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในสายงานต่างๆได้มากมายเช่น การใช้งานภาครัฐ รกิจทั่วไป สายการบิน การศึกษา ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธนาคาร วิทยาศาสตร์และการแพทย์เป็นต้น
            ปริมาณผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆและคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมโยงต่อกันเป็นเครือข่ายมากขึ้นการออกแบบตัวเครื่องในรุ่นใหม่ๆมีการปรับรูปลักษณ์แปลกตามากกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาขีดความสามารถให้ใกล้เคียงกับมนุษย์ โดยนำเอาศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์จะทำงานได้รับมาเท่านั้น หากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด การประมวลผลก็ย่อมผิดตามไปด้วย ผู้ใช้ภาพรวมในการใช้งานของคอมพิวเตอร์ว่า ไม่สามารถเอามาใช้แทนมนุษย์ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ มนุษน์ยังเป็นผู้ควบคุมการทำงานบางอย่างอยู่

สรุปท้ายบที่2
                การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ4อย่างด้วยกันคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากรแลข้อมูล องค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่
               พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยทำงาน5หน่วยด้วยกันคือ หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง หน่วยรับ/แสดงผลข้อมูล และทางเดินของระบบ การทำงานของซีพียูจะเปรียบกับสมองที่ใช้สั่งการมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่ในการประมวลผล หน่วยความจำหลักทำหหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งที่ได้ในการประมวลผล หน่วยความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและบันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเรียกใช้ได้ในภายหลัง และมีทางเดินของระบบทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียุและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้

สรุปบทที่3
                ซอฟต์แวร์เป็นกลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ สามารถจำแนกได้ สามารถจำแนกได้เป็น2ประเภทใหญ่ๆคือซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบปฎิบัติการถือเป็นซอฟต์แวร์ที่เกียวข้องกับการควบคุมและดูแลระบบคอมพิวเตอร์โดยรวมทั้งหมด โดยมีคุณสมบัติในการทำงานต่างๆ เช่น ทำงานหลายงานได้ สามารถแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยหลายๆ ส่วนแล้วทำงานร่วมกัน หรือรองรับผู้ใช้ได้หลายคน สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ แบ่งตามลักษณะการผลิตและกลุ่มการใช้งาน ซึ่งมีผู้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก การเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานนั้นสามารถหาเลือกซื้อได้ทั้งที่จำหน่ายแบบสำเร็จรูป ว่าจ้างให้ผลิตตามแบบเฉพาะของตนเอง ดาวน์โหลดฟรี หาตัวทดลองใช้ หรือนำเอาโอเพ่นเซอร์สพัฒนาเพื่อใช้งานเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัยการเหมาะสม
                  ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ยุคแรกที่ใช้ภาษาเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นภาษาระดับต่ำ และพัฒนามาเป็นภาษาแอสแซมบลีในยุคที่สอง ต่อมาได้ตัดทอนรูปแบบของคำสั่งและพัฒนาให้ไกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์มากยึ่งขึ้นหรือเรียกว่า ภาษาระดับสูง ในยุคที่สาม แต่การเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนมากขึ้นจำเป็นต้องใช้ความชำนาญมากพอ จึงได้มีการพัฒนาภาษาระดับสุงมาก สำหรับช่วยเหลือในการเขียนโปรแกรมอีกครั้งในยุคที่สี่ และมีแนวโน้มจะใช้ภาษาที่ไกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้นไปอีก เรียกว่า ภาษาธรรมชาติในยุคที่ห้า

สรุปบทที่ 4
               ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า อุปกรณ์ประมวลผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์
               อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าสามารถแบ่งแยกได้หลายประเภท เช่น กด ชี้ตำแหน่ง ปากกา มัลติมีเดีย หรือใช้การสแกน ส่วนอุปกรณ์ประมวลผลที่เปรียบเสมือนหัวใจของพีซีทั่วไปคือ เมนบอร์ด และซีพียู ที่ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นสมอง ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันดีมีหลายประเภท เช่น จานแม่เหล็ก สื่อเก็บแบบแสง เทป หรือหน่วยความจำแบบแฟลช สำหรับอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์นั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ควรประเภท คือ แสดงผลลัพธ์หน้าจอพิมพ์งาน และขับเสียง
                โครงสร้างโดยทั่วไปของการจักเก็บข้อมูลด้วยสื่อเก็บแบบจานแม่เหล็กที่ควรรู้จักคือ แทรค ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่แบ่งออกเป็นส่วนตามแนวเส้นรอบวงกลม และเซกเตอร์ ซึ่งเป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ

สรุปบทที่ 5
                ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะทำงานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์และจักการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                 การบู๊ตเครื่อง เป็นขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำงานโดยโหลดเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปไปไว้ในหน่วยคาวมจำประเภท RAM ซึ่งทำได้หลายลักษณะด้วยกันคือ โคลด์บู๊ต (Cold boot) และวอร์มบู๊ต (Warm boot)
                  ในการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลหรือชุดคำสั่งผ่านส่วนประสานงานกับผู้ใช้ (User lnterface) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบคอมมานด์ไลน์และแบบกราฟิก (หรือ GUI) โดยแบบหลังจะนิยมใช้มากในระบบปฏิบัติการใหม่ๆ เช่น Windows ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบคำสั่งให้ยุ่งยากเหมือนแบบแรก
                  ระบบปฏิบัติการยังมีความสามารถในการจัดการกับไฟล์ โดยอณุญาตให้ผู้ชั คัดลอก ย้าย ลบ หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์ต่างๆ ได้โดยสะดวก และมีการจัดลำดับโครงสร้างของไฟล์ออกเป็นลำดับชั้นเรียกว่า โครงสร้างแบบต้นไม้ (tree-like structure) นอกจากนั้นยังสร้างหน่วยความจำเสมือนไว้เสริมกับหน่วยความจำ RAM ขณะที่ทำงานกับข้อมูลจำนวนมาก และกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์เรียกว่า บัฟเฟอร์ สำหรับพักข้อมูลที่รับส่งกับอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลซึ่งโดยปกติจะทำงานช้ากว่ซีพียูมาก

สรุปบทที่ 6
                   ข้อมูลสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น อาจได้มาจากข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กร ซึ่งควรมีคุณสมบัติพื้นฐานประกอบด้วย ความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน ตรงตามความต้องการ มีความสมบูรณ์และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ในการจัดการกับข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ จะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้ บิต ไบต์ ฟีลด์ เรคอร์ด ไฟล์
                    โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนสื่อบันทึกข้อมูลสำรองมีอยู่ 3 ลักษณะคือ แบบเรียงลำดับ แบบสุ่มและลำดับเชิงดรรชนี การเลือกใช้ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน สำหรับแฟ้มข้อมูลโดยทั่วไปนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภมคือ แฟ้มหลัก ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อยมากนัก และอีกประเภทหนึ่งคือ แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแฟ้มที่มีการเปลี่ยนหรือแก่ไขรายการข้อมูลภายในค่อนข้างบ่อยและทำแบบประจำต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นทุกวัน
                      ข้อมูลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล ซึ่งช่วยให้การประมวลผลมีความสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น โดยมีแนวคิดที่จะจัดการกับข้อมูลเพื่อลดความซ่ำซ้อน ลดความขัดแย้งรักษาความคงสภาพ อำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ง่ายต่อการเข้าถึงและลดระยะเวลาพัฒนาระบบงานเครื่องมือสำหรับการจักการฐานข้อมูลนั้น เรียกว่า DBMS ซึ่งเป็นเสมือนผู้จัดการฐานข้อมูลที่จะดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยไม่ต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากแต่อย่างใด









สรุปบทที่ 7
                    ระบบจะเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบอื่นๆหลายส่วน ซึ่งต้องทำงานเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน เพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การพัฒนาและออกแบบระบบขั้นตอนสำคัญเพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศตรงความต้องการของผู้ใช่ทั่วไป บุคคลที่ทำงานเหล่านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                  สาเหตุที่เราต้องมีการวิเคราะห์ระบบนั้น ก็เพื่อจะศึกษาถึงรายละเอียดของปัญหาว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยหาความต้องการ (Requirements) ให้ได้ว่าต้องการแก้ปัญหาหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาในระบบ ซึ่งมักต้องอาศัยการศึกษาและฝึกถามคำถามด้วยว่าเราจะทำระบบอะไร (What) ทำโดยใคร (Who)
ทำเมื่อไหร่ (When) ทำไมต้องทำ (Why) และควรทำอย่างไรบ้าง (How) ซึ่งจะให้เราได้สารสนเทศตรงใจผู้ใช้มากที่สุดด้วย
               กระบวนการต่างๆเหล่านี้จึงเกี่ยวข้องกับการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนว่า เริ่มต้นต้องทำอะไรบ้างและสุดท้ายแล้วจะต้องดูแลบำรุงรักษาระบบอย่างไรบ้าง ซึ่งมักแบ่งเป็นขั้นตอนหรือกลุ่มงานที่สำคัญชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการลงมือทำ กระบวนการเหล่านี้มักเรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบหรือ SDLC (System Development Life Cycle) ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญๆคือ กำหนดปัญหา (Problem Recognition) วิเคราะห์ระบบ (Analysis) ออกแบบระบบ (Design) พัฒนาระบบ (Implementatin) การทดสอบ (Testing) ติดตั้งระบบ (Installation) และการบำรุงรักษา (Maintenance) นั่นเอง



สรุปบทที่ 8
          ผังงาน(Flowchart) เป็นเครื่องแสดงลำดับการทำงานด้วยภาพสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานได้ชัดเจน และนำไปเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยลักษณะของผังงานมีหลายรูปแบบคือ แบบเรียงลำดับ (Sequence) แบบมีเงื่อนไข (Decision) และแบบทำซ้ำ (Loop) ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานนั้นๆ
         ก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมหรือปฏิบัติงานใด ควรเขียนขั้นตอนและผังงานเพื่อจัดลำดับความคิดและลำดับการทำงานให้ถูกต้อง ทำให้เห็นภาพรวมของงาน และแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ผิดพลาดไปได้ง่าย โดยไม่ต้องเริ่มคิดใหม่ตั้งแต่ต้น
         เราสามารถเขียนผังงานโดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือต่างๆช่วยในการออกแบบซึ่งมีผู้ผลิตโปรแกรมออกมาหลายค่าย ทำให้ลดขั้นตอนและการทำงานลงไปได้มากยิ่งขึ้น



สรุปบทที่ 9
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสามารถทำงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการคือ การใช้ข้อมูลทำได้ช้า ไม่สามารถทำได้ทันทีและยากต่อการควบคุมดูแลในบางกรณี ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปอาจแบ่งได้กว้างๆ เป็น 2 ลักษณะคือ LAN และ WAN องค์ประกอบของเครือข่ายประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และตัวกลางนำข้อมูล ซึ่งเป็นได้ทั้งสายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สาย Coaxial สาย UTP คลื่นวิทยุ สาย Fiber Optic เป็นต้น
                 เครือข่ายแบบไร้สาย คือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์คือ ไม่ต้องเดินสายเหมือน LAN แบบอื่น เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือที่ซึ่งไม่สะดวกเดินสาย แต่จะทำความเร็วได้ต่ำกว่าแบบเดินสายหลายเท่า
                การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ Peer-to-Peer ซึ่งทุกเครื่องจะมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และแบบ Server-based ซึ่งมีบางเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการเครื่องอื่นหรือที่เรียกว่า ไคลเอนต์


สรุปบทที่ 10
                อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ใหญ่ที่สุด มีการเชื่อมต่อเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ทั้งนี้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้บริการของ ISP เพื่อขอเปิดการใช้งาน โดยต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อแต่ละประเภท
                การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีทั้งที่ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เรียกว่าแบบ Dial-up ซึ่งจำกัดความเร็วสูงสุดไม่เกิน 56 Kbps หรือการเชื่อมต่อด้วยการรับข้อมูลด้วยความถี่สูงหรือบรอดแบนด์ (Broadband) เช่น แบบ (ISDN) เคเบิลโมเด็ม (Cable modem); ADSL (Asymmetric Digictal Subscriber Loop) และดาวเทียม (Satellite) แต่ที่ใช้กันมากก็มี ISDN และ ADSL
                 การทำกิจกรรมอินเทอร์เน็ตต้องมีกติกาที่ทุกเครื่อง ทุกโปรแกรมต้องรับรู้และทำตามแบบมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งเรียกว่า โปรโตคอล


สรุปบทที่ 11
                เทคโนโลยี คือ การเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งแขนงของวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อจัดเก็บสารสนเทศที่ต้องการ
               ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาจัดการเก็บข้อมูลในองค์กร ซึ่งมีผู้ใช้ 3 ระดับคือ ระดับสูง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารสูงสุด ระดับกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลากรในระดับบริหารและจัดการ เช่น หัวหน้าแผนก หรือหัวหน้าฝ่าย และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ใช้ระดับปฏิบัติการ วึ่งได้แก่  กลุ่มปฏิบัติงาน
                เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศได้หลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม  สำหรับประเทศไทยเองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยได้ว่างกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT2010 ขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

สรุปบทที่ 12
          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแตเดิมจะใช่ระบบ EDI หรือระบบเลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้คู่ค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารทางการค้าได้โดยตรง แต่ก็มีความนิยมค่อนข้างน้อยเพราะมีค่าใช่จ่ายในการวางระบบและดำเนินการสูง ซึ่งมีใช้เฉพาะในวงการอุตสาหกรรมบางกลุ่มหรือการค้าเฉพาะทางเท่านั้น จนกระทั่งอินเตอร์เน็ทมีการใช้งานแพร่หลาย การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายมาเป็นการทำงานผ่านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีค่าใช่จ่ายต่ำกว่ากันมาก
          รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นมากที่สุด สามารถแยกออกได้ 3 รูปแบบคือ ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ผู้บริโคกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับขั้นตอนการค้านั้นประกอบด้วย การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล การทำรายการซื้อขาย การส่งมอบสินค้า และการให้บริการหลังการขาย


สรุปบทที่ 13
         จริยธรรมเป็นแบบแผนความประพฤติหรือความมีสามัญสำนึกต่อสังคมในทางที่ดี เมื่อกล่าวถึงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุคสารสนเทศ จะเกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 4 ประการคือ ความเป็นส่วนตัวความถูกต้องแม่นยำ ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงข้อมูล
           อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นอีกกรณีหนึ่งที่พบเห็นได้ โดยนอกจากจะเป็นการกระทำที่  ขาดจริยธรรมแล้ว ยังถือว่าผิดกฎหมายด้วย การก่ออาชญกรรมทางคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ เช่น การลักลอบเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอณุญาต การขโมยและทำลายอุปกรณ์ การขโมยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย เป็นต้น วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์อาจทำได้หลายวิธี เช่นการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส การใช้ระบบไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสข้อมูล และการสำรองข้อมูล เป็นต้น
        




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น